การทำงานแปล
การร่วมงานแปลใน launchpad.net จะมีหน้าของทีมแปลอยู่ครับ หากต้องการทำงานแปล ขอให้เข้าไป Subscribe mail ของ Group หน้า lp-l10n-th เพื่อจะได้รับทราบข่าวสารกันในทีมครับ
ใน Launchpad ทุกคนสามารถแปลข้อความได้ทันที เพียงมี Account ของ Launchpad แต่ก่อนจะลงมือแปลอยากให้ศึกษาขั้นตอนการแปล และวิธีการแปลให้เข้าใจตรงกันก่อนครับ งานจะได้ออกมาในทิศทางเดียวกัน สำหรับข้อความที่แปลแล้วนั้น จะถูกตรวจสอบจากทีม lp-l10n-th ก่อนที่จะนำไปใช้จริงครับ ดังนั้นเพื่อลดงานของทีมตรวจสอบข้อความ กรุณาศึกษาวิธีการแปลก่อนครับ กรณีแปลเสร็จแล้ว ต้องการให้ Approve ให้ก่อนสามารถตามใครในทีม lp-l10n-th มา Approve ให้ได้เลยครับ
การเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีม lp-l10n-th เพื่อมีสิทธิ์ในการ approve คำแปล ผมจะดูจากผลงานของคำแปล ว่ามีอัตราการนำใช้ได้สูงแค่ไหน และมีความต่อเนื่องในการแปลมากเท่าไหร่ แล้วจะส่ง Invite ไปเชิญเข้าทีมเอง หรือจะเมลมาขอเข้าทีมเองก็ได้ ซึ่งผมจะให้คนในทีมพิจารณาร่วมกันครับ
คุณสามารถตรวจสอบการแปลได้ ด้วยการไล่ดูข้อความที่แปลไว้แล้ว หากพบข้อความที่ไม่ถูกต้อง คุณสามารถเสนอคำแปลใหม่ลงไปได้ เพื่อให้ทีมตรวจสอบ เลือกใช้ข้อความที่ถูกต้องในการ Approve
กฏเกณฑ์การแปล
- ไม่แปลโครงการที่ไม่ได้ Host ด้วย Launchpad เพื่อให้งานไม่ซ้ำซ้อน ถ้าโครงการนั้นๆ ไม่ได้พัฒนาใน Launchpad อยากให้เข้าไปแปลที่โครงการต้นน้ำ เพื่อจะได้มีประโยชน์ในวงกว้าง กรณีไม่แน่ใจ ให้เมลปรึกษาในกลุ่มก่อนลงมือแปลโครงการใดๆ ครับ
การแปลข้อความ จะอิงข้อความจากการแปลของทีม GNOME และ Debian เป็นหลัก เพราะข้อความส่วนใหญ่ Ubuntu รับมาจากสองโครงการดังกล่าว หากพบว่าข้อความจาก GNOME หรือ Debian แปลไม่ได้เรื่อง ให้ไปพูดคุยได้ที่ Group mail หลักของทีมแปลภาษาไทย เพื่อแก้ไขให้เป็นคำที่เห็นว่าถูกต้อง และให้คำแปลนั้น ไหลลงมาสู่ Ubuntu เองครับ ทั้งนี้เพื่อให้ข้อความแปลตรงกับ Linux Distribution อื่นๆ เสมอ เช่น Fedora เป็นต้น (ลองนึกว่าถ้าหาก Windows XP Home ใช้คำว่า Shut down แล้ว Windows XP Pro ใช้คำว่า Turn off ครับ)
- ชื่อของ Account ใน Launchpad ขอให้ใส่เป็นชื่อจริง และเป็นภาษาอังกฤษครับ เพื่อที่คนชาติอื่นจะสามารถอ่านออก และติดต่อเราได้ในกรณีที่ต้องการ
การเลือกโครงการที่จะแปล
การเลือกโครงการที่จะแปล วิธีคร่าวๆ ดังนี้ครับ
- เลือกโครงการที่พัฒนาขึ้นภายใน Launchpad เพื่อให้งานไม่ซ้ำกับที่ต้นน้ำ
- เลือกจากโปรแกรมที่คุณใช้อยู่แล้ว เพราะคุณจะรู้ดีว่า คำแปลควรแปลว่าอะไร
คำแนะนำการใช้คำแปล
การแปลชื่อ Product ไม่ต้องแปลครับ ให้คงชื่อภาษาอังกฤษไว้อย่างเดิม เช่น Ubuntu, Firefox (อ้างอิง)
การอ้างอิงคำแปลให้ดูที่ OSSGlossary และ OSSCorpus สำคัญมากที่เราต้องแปลให้ตรงกันครับ ยกตัวอย่าง คำว่า File ถ้าคุณ A แปลในหน้าจอว่า "แฟ้ม" ส่วนคุณ B แปลในคู่มือ ว่า "ไฟล์" เวลาคนอ่านคู่มือ เพื่อหัดใช้โปรแกรมจะงงเอาได้ครับ เพราะฉะนั้นอันนี้สำคัญครับ ก่อนแปลให้เช็คคำที่ OSSGlossary และ OSSCorpus เสมอครับ
หากมีคำแปลที่ไม่แน่ใจ ให้พูดคุยที่ Group mail ของเรา ถ้ายังหาข้อตกลงไม่ได้ ค่อยขยับไป Group mail หลักครับ
- กรณีใช้ Google Translate ช่วยแปล อย่าลืมเช็คประโยคอีกครั้ง และดูตัวแปลด้วย เพราะ Google มันจะแปล {} ไปเป็น () นะครับ ต้องระวังด้วย
- ถ้าแปลด้วย Windows โปรดระวังเรื่องสระเกินครับ เช่น คำว่า Ubuntu จะมีที่เผลอพิมพ์ในโหมดภาษาไทย ทำให้มีสระอีเกินขึ้นมา แต่พออยู่ใน Windows จะมองไม่เห็นครับ ดังนั้น ถ้าอยู่บน Windows อย่าลืมตรวจสอบครับ
วิธีการแปล
การแปลด้วย Rosetta
Rosetta เป็นเครื่องมือของ Launchpad ที่จะช่วยให้เราสามารถทำงานแปลผ่านทางหน้าเว็บได้ ทำให้ทุกคนที่ต้องการแปลข้อความในภาษาใดๆ สามารถร่วมงานได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคลึกนัก
เข้าไปที่ https://translations.launchpad.net/translations/+products-with-translations
- คลิกเลือกโครงการที่ต้องการ
- คลิกที่ Translation
- คลิกเลือกที่ Thai
- จะเข้าสู่หน้ารายการคำแปล
- เลือกแปลข้อความที่ต้องการ
การแปลจาก po
การตรวจสอบงานแปล
ตรวจสอบข้อความ
งานแปลที่เข้ามาใน Rosetta จะมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งทีมตรวจสอบจะต้องทำงานหนักมาก เพื่อให้ได้งานแปลที่มีคุณภาพ คุณสามารถช่วยแบ่งเบาภาระของทีมตรวจสอบได้ดังนี้
เข้าไปที่ https://translations.launchpad.net/translations/+products-with-translations
- คลิกเลือกโครงการที่ต้องการ
- คลิกที่ Translation
- คลิกเลือกที่ Thai
- จะเข้าสู่หน้ารายการคำแปล
- ที่ช่อง Filter ให้เลือกเป็น Untranslated Item เพื่อเสนอคำที่ดีกว่าให้ทีมตรวจสอบเลือกใช้
ทดสอบโปรแกรมกับคำแปลใหม่
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ l10n.opentle.org